TOR for Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560

การจัดทำ TOR ตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ งานจ้างที่ปรึกษา ก็จะมีข้อกำหนดคล้าย ๆ กัน ผมเลยทำสรุปกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสั้น ๆ


Document

วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง

  • วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป : เป็นการเชิญผู้ประกอบการทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ให้มายื่นข้อเสนอ
  • วิธีคัดเลือก : เป็นการเชิญผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้มายื่นข้อเสนอ
  • วิธีเฉพาะเจาะจง : เป็นการเชิญผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข 1 ราย ให้มายื่นข้อเสนอ หรือเจรจาต่อรองราคา

โดยปกติแล้วก็จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน แต่สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่อาศัยเทคนิคเฉพาะด้าน เช่น Server หรือมีความเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้ ก็สามารถใช้วิธีคัดเลือกได้ ส่วนวิธีเฉพาะเจาะจงจะใช้ก็ต่อเมื่อไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ, ข้อเสนอไม่ได้รับการคัดเลือก หรือ มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว เช่น หากเป็น Server ยีห้ออื่น รุ่นอื่น จะไม่สามารถทำ HA ได้

การติดประกาศ

การติดประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง และประกาศผลการจัดซื้ออจัดจ้าง จะติดไว้ 2 ที่ คือ ระบบของกรมบัญชีกลาง และ ระบบของหน่วยงานนั้น ๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ซึ่งก็จะต้องมีข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลาง รวมทั้งระยะเวลาการติดประกาศ

การพิจารณาคัดเลือก

การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ และวัตถุประสงค์การใช้งานเป็นหลัก และคำนึงถึงเกณฑ์อื่นประกอบด้วย เช่น

  • ต้นทุนของสินค้านั้นตลอดอายุการใช้งาน
  • มาตรฐานและคุณภาพของสินค้าและบริการ
  • บริการหลังการขาย
  • อรรถประโยชน์ที่ได้รับ

ส่วนถ้าเป็นงานจ้างที่ปรึกษา ซึ่งข้อกำหนดให้พิจารณาเกณฑ์คุณภาพและราคา เช่น

  • ผลงานและประสบการณ์
  • วิธีการบริหารและปฎิบัติงาน
  • จำนวนบุคลากรที่ร่วมงาน
  • ข้อเสนอทางการเงิน

และงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งผมคิดว่าหลายหน่วยงานหน้าจะปวดหัวกับการจ้างทีมพัฒนาระบบ โดยคัดเลือกผู้ให้บริการที่ได้คะแนนเกณฑ์คุณภาพมากที่สุด

การลงนามในสัญญา

การลงนามในสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ พ้นระยะเวลาและไม่มีผู้ทำการยื่นอุทธรณ์

การยกเลิกจัดซื้อจัดจ้าง

หน่วยงานของรัฐสามารถยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ. โดยผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ เช่น พวกการจัดซื้อจัดจ้างที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *