Storage Architecture

พูดถึงการต่อ iSCSI กับ SAN มาตั้งเยอะแยะ แต่ยังไม่ได้อธิบาย Storage Architecture แต่ละประเภทแตกต่างกันยังไง แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอะไร และเหมาะกับงานแบบไหน


Storage Overview

การเชื่อมต่อระหว่าง Storage กับ Server ภายใน Datacenter ในสมัยก่อนเป็นแบบต่อตรงธรรมดา ( DAS ) ไม่ยุ่งยากเหมือนปัจจุบัน พูดง่าย ๆ คือ Storage แต่ละตัวจะต่อเข้ากับ Server ได้แค่ทีละตัว ต่อมาก็เห็นว่าวิธีนี้มันไม่เวิร์คหากเกิด Server Down ขึ้นมาก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้นแทนที่เราจะต่อกับ Server ตรง ๆ ก็จะใช้วิธีแบบ ( SAN ) หรือ ( NAS ) แทน โดยที่ SAN จะแยก Server กับ Storage ออกจากกันเป็น Centralized Storage ศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูล โดยมี FC Switch มาวางขวางระหว่าง Server กับ Storage นั่นเอง ส่วน NAS ก็จะเป็นการนำ Storage ต่อตรงเข้ากับ Network โดยไม่ผูกกับ Server ใด ๆ เพื่อป้องกันกรณีเกิด Server Down นั่นเอง แต่ทั้ง 3 วิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

สรุปสั้น ๆ ก็คือ Storage จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบแรก ต่อตรงธรรมดา Direct-Access ( DAS ) กับแบบที่สอง ต่อผ่านเครือข่าย Network ( SAN / NAS )

อ่านเพิ่มเติม : https://bit.ly/2CM1IRm


Storage Comparison

ในการทำงานเกี่ยวกับ Database หรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ การใช้ SAN ดูจะเหมาะกว่าการใช้ NAS เนื่องจากการส่งข้อมูลผ่าน Network ที่มีการสื่อสารกันระหว่าง Server และ Client การทำงานแบบ NAS จะเหมาะกับการทำงานในลักษณะของ File Share มากกว่า เพื่อให้ Client สามารถเชื่อมต่อและใช้งานได้ทันที ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งระบบปฏิบัติการที่เป็น Windows ( CIFS ) และ Linux ( NFS )

ส่วน SAN ซึ่งทำงานในลักษณของ Block-Based และมี FC Switch ในการแยก Traffic ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วแบบ Full-Duplex อีกทั้งในเรื่องของการ Scale แบบ SAN สามารถเพิ่มได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้อง Down Server ก่อน เหมือนกับ NAS ทำให้เหมาะกับงาน Database, Virtualization, Virtual Desktop Infrastructure และ Backup and Replication

อ่านเพิ่มเติม : https://bit.ly/2CmdnFr


SAN vs NAS

SAN and NAS on Windows

ถ้าให้เปรียบเทียบความแตกต่างแบบชาวบ้านให้ทุกคนเห็นภาพ ต้องลองต่อทั้ง NAS และ SAN บน Windows เราจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : https://bit.ly/2J27oaq


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *