VM Naming Convention

ในการตั้งชื่อ VM ของแต่ละ Product ก็จะมีกฏในการตั้งชื่อและข้อจำกัดแตกต่างกันไป ไม่เว้นแม้กระทั่ง Cloud ต่าง ๆ การตั้งชื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน สื่อความหมาย เข้าใจตรงกัน และมีมาตรฐานเดียวกันในการตั้งชื่อ ซึ่งมันสำคัญมากหากต้องมาเปลี่ยนชื่อทีหลัง มันอาจจะส่งผลต่อ Script ในการ Backup เรามาจัดหมวดหมู่การตั้งชื่อกันก่อนคร่าว ๆ


ตั้งชื่อตาม System

  • AD ( Active Directory )
  • DC ( Domain Controller )
  • DNS ( Domain Name Server )
  • DHCP ( Dynamic Host Configuration Protocol )
  • VPN ( Virtual Private Network )
  • RDP ( Remote Desktop Protocol )
  • NTP ( Network Time Protocol )
  • WSUS ( Windows Server Update Services )

ตั้งชื่อตาม Application

  • WEB ( Website )
  • WS ( Web Service )
  • DB ( Database )
  • API ( Application Programming Interface )

ตั้งชื่อตาม OS

  • SOL ( Solaris )
  • ORA ( Oracle Linux )
  • WIN ( Windows Server )
  • LNS ( Linux Server )
  • UBS ( Ubuntu Server )

ตั้งชื่อตาม Product

  • ESXi ( VMware ESXi )
  • VCSA ( VMware vCenter Server Appliance )
  • VIC ( VMware vSphere Integrated Containers )
  • VROPS ( VMware vRealize Operations )
  • PRTG ( PRTG Network Monitor )
  • PALO ( PaloAlto Firewall )

ตั้งชื่อตาม Environment

  • DEV ( Devlopment )
  • PRO ( Production )
  • QA ( Quality Assurance )
  • TPL ( Template )
  • POC ( Proof of Concept )
  • LAB ( Laboratory )

ตั้งชื่อตาม Department

  • AC ( Accounting )
  • HR ( Human Resource )
  • IT ( Information Technology )
  • PR ( Public Relations )

ตั้งชื่อตาม Service

  • ISP ( ISPConfig )
  • VPS ( Virtual Private Server )

ต่อไปจะเป็นการเชื่อมคำต่าง ๆ ให้เป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งจะใช้ ( – ) หรือ ( _ ) ในการเชื่อมคำ การตั้งชื่อจะใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ ( Case-insensitive ) แต่ผมแนะนำให้ใช้ตัวใหญ่จะดูง่ายกว่า หากใครใช้ VMware ถ้า VM Poweroff อยู่ เราจะไม่สามารถค้นหาด้วย IP ได้ ก็จะมี 3 ทางเลือก 1. ใช้ nslookup หา IP 2. ใส่ Note IP บน VM หรือจะสร้างเป็น Custom Attribute ก็ได้ 3. ตั้งชื่อต่อท้ายด้วย IP ไปเลย

ตัวอย่างการตั้งชื่อ

  • ตั้งชื่อโดยเอา Service ขึ้นก่อน
ISPConfig-192.168.1.1   // ต่อท้ายด้วย IP Address
ISPConfig-isp.lab.local // ต่อท้ายด้วย DNS
VPS-AC                  // ต่อท้ายด้วย Department
  • ตั้งชื่อโดยเอา OS ขึ้นก่อน
WIN2K12                 // OS + Version
ORA6.8                  // OS + Version
UBS16.04                // OS + Version
WIN2K12-DNS             // ต่อท้ายด้วย Service
WIN2K12-WEB             // ต่อท้ายด้วย Application
WIN2K12-WEB-AC          // ต่อท้ายด้วย Department
WIN2K12-WEB-AC-PRO      // ต่อท้ายด้วย Environment
  • ตั้งชื่อโดยเอา Product ขึ้นก่อน
VCSA6.7                 // Product + Version
VCSA6.7-192.168.1.1     // ต่อท้ายด้วย IP Address
VCSA6.7-alpha.lab.local // ต่อท้ายด้วย DNS
VCSA6.7-01              // ต่อท้ายด้วยเลข Instance

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *