Big Data ของกระทรวงสาธารณะสุข

กระทรวงสาธารณะสุขได้มีการนำ Big Data เข้ามาช่วยจัดการข้อมูลธรรมดาให้เป็นคลังข้อมูลสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานแรก ๆ ในประเทศไทยที่ได้มีการนำ Big Data มาใช้ โดยนำ Open Source Framework อย่าง Apache Hadoop มาช่วยจัดการทำ Parallel Processing การเข้าถึงข้อมูลก็จะถูกจำกัดสิทธิ์ตามกลุ่มผู้ใช้งาน โดยกระทรวงสาธารณะสุขมีอำนาจในการจัดเก็บข้อมูลสาธารณะสุขของเราตามกฏหมาย พ.ร.บ. อยู่แล้ว แต่หากต้องการเผยแพร่ข้อมูลไปให้หน่วยงานอื่น ต้องได้รับความยินยอมของเจ้าตัวก่อน เพราะตัวกฏหมายยังไม่รองรับ โดยข้อมูลจะมาจากสถานพยาบาลและหลาย ๆ หน่วยงานของแต่ละจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะต้องส่งข้อมูลไปยัง Server ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก่อน แล้วค่อยถูกส่งมายัง Server หลักของกระทรวงสาธารณะสุข แล้วเราจะบังคับให้แต่ละหน่วยงานส่งข้อมูลมาได้ยังไง เราจะใช้ KPI เป็นตัววัด ถ้าคุณไม่ส่งข้อมูลมา KPI คุณก็จะตกนั่นเอง


HDC Service

เรามาพูดถึงการ Implement ตัวระบบ Hadoop กันบ้างดีกว่า โดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 50 โดยมี Node ในระบบ Hadoop 16 Node การทำงานเป็นแบบ Redundant ก็น่าจะถูกแบ่งเป็น MasterNode 2 SecoundaryNode 2 นอกนั้นก็เป็น SlaveNode 12 ตามที่ผมเข้าใจ นอกจากนั้น Server ของแต่ละจังหวัดก็จะเป็นเหมือน Data Mart โดยกระทรวงสาธารณะสุขจะทำการดึงข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานต้องใช้ออกไปสร้างเป็น Table เก็บไว้ให้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดึงไปใช้ได้เลย และหากข้อมูลมีอยู่ในระบบกระทรวงสาธารณะสุขจะบังคับให้ต้องมาดึงข้อมูลจากในนี้ก่อน เทคโนโลยีที่ใช้ก็จะเป็นแบบ HCI (Hyperconverged) ส่วน Disk ที่ใช้เก็บข้อมูลก็ประมาณ 6 TB ครับ

ภายใน Data Center ของกระทรวงสาธารณะสุข จะค่อนข้างเข้มงวด เพราะได้มาตรฐาน ISO 27001 แต่ยังไม่ได้ ISO 9000 ก็เห็นพีเขาบอกว่ากำลังจะทำในปี 61 Hardware ส่วนใหญ่ที่ใช้ก็จะเป็นเจ้าเดียวกัน เพื่อให้สามารถทำ Redundant กันได้อย่างไม่มีปัญหา โดยเฉพาะตัวของ Firewall เพราะเวลาอาจจะเลื่อมกัน ราคาไม่ต้องพุดถึง น่าจะแพงเอาเรื่องอยู่ โครงสร้างห้อง Data Center มีการออกแบบแยก Zone กันอย่างชัดเจน แบ่งเป็น Red Zone, Yellow Zone, Green Zone มีการป้องกันความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การกรอกแบบฟอร์มการเข้าห้อง Data Center ไปจนถึงการนำระบบ Face Detection มาใช้ก่อนเข้าห้อง และยังมีห้อง NOC Room ที่ใช้สำหรับ Monitor อีกด้วย สุดท้ายที่คิดว่าเจ๋งมาก คือ ISO 27001 เนี่ยห้ามติดพวกเลขครุภัณฑ์บนตัวอุปกรณ์ ก็เลยนำ Label ที่ติดบนตัวอุปกรณ์พวก Switch มาใช้แทนเลขครุภัณฑ์ซะเลย เช่น SW1D1 เป็นต้น

Smart Health ID

อีกอันนึงที่น่าสนใจคือระบบ Smart Health ID เป็นการลดภาระงานการขอเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประชาชน อีกทั้งต้องการลดการเก็บข้อมูลหลาย Record โดยให้เก็บเป็น One Patient One Record ให้สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการขอรับบริการ ซึ่งจะต้องมีการทำ MOU กับกรมการปกครองให้สามารถใช้ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ผ่านเครือข่าย GIN (Government Information Network) ของภาครัฐ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *