Active Directory ( AD ) 101

Active Directory ( AD ) เป็นการจัดการข้อมูล Directory Service ภายในองค์กรแบบ Centralized Administrator ในการเก็บข้อมูลของ User & Computer เพื่อใช้ในการ Authentication & Authorization หรือที่เรียกกันว่า Single Sign-On นอกจากนี้ยังใช้ในการจัดการ Security Policy เพื่อเข้าถึง Shared Network Resource ต่าง ๆ


Directory Service

โดยปกติจะมีการจัดการอยู่ 2 รูปแบบ คือ Centralized Administrator เป็นการจัดการจากศูนย์กลาง และ Dispersed Administrator ( Work Group ) เป็นการจัดการแบบแต่ละแผนก การใช้งาน Active Directory บน Windows Server จะมี Service ที่ให้บริการอยู่ 5 ตัวด้วยกัน ได้แก่

  • Active Directory Domain Services ( AD DS )
  • Active Directory Certificate Services ( AD CS )
  • Active Directory Federation Services ( AD FS )
  • Active Directory Lightweight Diretory Services ( AD LDS )
  • Active Directory Rights Management Services ( AD RMS )

Active Directory Domain Service ( AD DS )

เมื่อเราทำการเปิดใช้งาน Active Directory Domain Service มันจะ Provide Service ที่คอยให้บริการหน้าที่หลักที่สำคัญและขาดไม่ได้อยู่ 4 อย่าง

  • NTDS : เป็นไฟล์ฐานข้อมูล Database ของ Active Directory ที่มีการเข้ารหัสแบบ MD5 หมายความว่าหากทำการ Copy ไปที่เครื่องอื่นจะไม่สามารถเปิดได้ และการเปิดจะต้องใช้ Service ในการเปิดเท่านั้น %systemroot%\ntds
  • SYSVOL : เป็น File Sharing ที่เก็บข้อมูล Group Policy Object ( GPO ) ของ User \\lab.local\SYSVOL
  • NETLOGON : เป็น File Sharing ที่เก็บข้อมูล Legacy Script ที่ใช้ในการรันโปรแกรมอัตโนมัติเมื่อทำการ Logon \\lab.local\netlogon
  • DNS : เป็นตัวที่คอยให้บริการแปลง Domain Name เป็นหมายเลย IP หรือแปลงหมายเลข IP เป็น Domain ซึ่งหากเราทำการเปิดใช้งาน AD DS จะทำการเปิดใช้งาน DNS โดยอัตโนมัติ %systemroot%\system32\dns

AD DS Component

Logical Component

  • Schema : ใช้ในการระบุ Type ของ Object ต่าง ๆ ในระดับ Forest หมายความว่าใน Forest เดียวกันจะมีการ Share Schema ร่วมกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    • Class Object : ใช้ในการระบุ Object ที่ถูก New Create บน Directory เช่น User & Computer
    • Attribute Object : ใช้ในการระบุ Information ที่ถูกเก็บอยู่ในแต่ละ Object Class เช่น Display Name
  • Domain : ใช้ในการทำ Group & Manage Object ที่อยู่บน AD DS ซึ่งเมื่อทำการสร้าง Domain จะมีความสามารถที่ถูก Provide มาให้ 3 อย่าง
    • Administrative Boundary : ใช้ในการ Apply Policy ของ Object ในแต่ละ Group ที่อยู่ใน Domain เดียวกัน
    • Replication Boundary : ใช้ในการ Replicate Data ระหว่าง Domain Controller ที่อยู่ใน Domain เดียวกัน ทำให้ Domain Controller ทั้งหมดมีข้อมูลที่เหมือนกัน และแต่ละ Domain Controller สามารถทำเป็น Multi-master ได้
    • Authentication & Authorization Boundary : ใช้ในการกำหนด Scope ในการ Access Resource ที่อยู่ใน Domain เดียวกัน
  • Domain Tree : เป็นกลุ่มของ Domain ที่อยู่ภายใต้ Forest เดียวกัน โดย Domain ที่อยู่ใน Domain Tree จะมีคุณสมบัติ Contiguous Namespace, Additional Child Domain และ Two-way Transitive Trust ซึ่งหากต้องการให้แต่ละ Domain สามารถ Access Resource ของอีก Domain ได้จะต้องมีการทำ Trust โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ
    • Directional : เป็นการทำ Trust Direction ที่เกิดจากการกำหนดทิศทาง ได้แก่ One-way แบบทิศทางเดียว หรือ Two-way แบบสองทิศทาง ( Incoming & Outgoing )
    • Transitive : เป็นการทำ Trust Relationship ที่เกิดจากการถ่ายทอดโดยอัติโนมัติ เช่น ตอนสร้าง Child Domain จะเกิด Transitive กับ Parent Domain โดยอัตโนมัติ
  • Forest : เป็นกลุ่มของ Domain Tree ที่จะมีการ Shared Network Resource ร่วมกัน เช่น Schema, Partition, Global Catalog
  • Organization Unit : เป็นกลุ่มของ Object ประกอบไปด้วย User, Group และ Computer ที่สามารถทำการ Delegate Permission ในการถ่ายทอดสิทธิ์ และ Apply Policy

Physical Component

  • Data Store : เป็นไฟล์ Database ( ntds.dit ) อยู่ใน %systemroot%\ntds ที่ใช้ในการจัดเก็บ File & Process และใช้ในการจัดการ Data Information ของ User รวมถึง Service & Application
  • Domain Controller : เป็นเครื่อง Server ที่มีการติดตั้ง AD DS ที่ใช้ในการ Authentication & Authorization, Manage User & Computer, Shared Network Resource นอกจากนี้ยังสามารถทำ Replicate Update ระหว่าง Domain Controller ที่อยู่ใน Forest เดียวกัน และช่วยจัดการในเรื่องของ Security ด้วย Read-Only Domain Controller ( RODC )
  • Global Catalog : เป็นกลุ่มของ Attribute ของแต่ละ Object ทั้งหมด ของแต่ละ Domain ที่อยู่ใน Forest เดียวกัน โดยการ Replicate เป็น Database ที่ใช้ในการ Query Object หาก
  • Read-Only Domain Controller : เป็นเครื่อง Additional Domain Controller ที่ถูกกำหนดให้สามารถ Read-Only ได้อย่างเดียว ไม่สามารถทำการ Write ได้

AD DS Site

ในกรณีที่องค์กรมีหลายสาขา สามารถทำการสร้าง Site ที่เป็น Location ของ Active Directory ตามตำแหน่งที่ตั้งจริง เพื่อจัดการ Network Segment ของ Domain Controller ทั้งหมดให้สามารถทำการ Replication กันได้แบบ Fast & Reliable ซึ่งในกรณีที่องค์กรมีหลายสาขา การทำ Replication ผ่าน WAN จะขึ้นอยู่กับ Bandwidth ระหว่างสาขา

  • Intrasite : กรณีที่ Bandwidth > 512 kbps ไม่ต้องทำการแยก Site เนื่องจากการทำ Replication จะไม่มีการ Compress โดยทำการส่งผ่าน Domain Controller ด้วยโปรโตคอล Remote Procedure Call ( RPC )
  • Intersite : กรณีที่ Bandwidth < 512 kbps จะต้องทำการแยก Site เนื่องจากการทำ Replication จะมีการ Compress และมีการกำหนด Schedule โดยทำการส่งผ่าน Bridgehead Server
    • IP Link : กรณีที่ Bandwidth อยู่ระหว่าง 128 – 512 kbps
    • SMTP Link : กรณีที่ Bandwidth < 128 kbps

การแยก Site จึงลด Traffic ของการทำ Replication และลดภาระของ Domain Controller ผ่านการตั้ง Bridgehead Server

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *