ReFS on Veeam

Resilient File System ( ReFS ) เป็นระบบ File System แบบใหม่ของ Windows Server ซึ่งทาง Veeam เองก็ได้ Support ReFS Volume ทั้ง Internal, Direct-Attached Storage (DAS) และ Storage Spaces ทั้งแบบ Classic และแบบ Storage Spaces Direct (S2D) โดยเพิ่มเข้ามาใน Veeam Backup & Replication 9.5


Pros

การใช้งาน File System แบบ ReFS จะช่วยเพิ่มประสิทธภาพในการทำ Synthetic Full Backup ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการ Creation หรือ Transformation รวมถึงลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลและเพิ่มความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้มันยังช่วยปรับปรุงการทำงานของ Backup Storage ให้เหมาะสม ช่วยลด Load ทำให้การ Backup และ Restore มีประสิทธิภาพ ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยี ดังนี้

  • Fast Cloning Technology

ส่วนที่ยากทีสุดในการสำรองข้อมูลอย่างหนึ่งคือ การทำ Synthetic Full Backup ซึ่งต้องทำการย้าย Blocks ระหว่างไฟล์ Backup ใน Incremental Chain ซึ่งในเวอร์ชั่น 9.5 จะใช้ ReFS API ในการสร้าง Synthetic Backups โดยไม่ได้ย้าย Block ของข้อมูลจริง ๆ แต่จะใช้การแทนที่ไฟล์ References

  • Spaceless Full Backup Technology

อาจจะต้องมีการสำรองข้อมูลแบบ Full Backup บน Disk เป็นระยะ ๆ และการเก็บ GFS Retention ( Gradfather-Father-Son ) ตาม Policy จะถูกแบ่งดังนี้ Weekly ( Son ), Monthly ( Father ) และ Yearly ( Grandfather ) ซึ่งการสำรองข้อมูลเป็น Quarterly Backup แบบนี้จะเรียกว่า Archive Backup เทคโนโลยีช่วยให้การทำ Multiple Full Backup สามารถ Share Data Block ที่เหมือนกัน ทำให้ลดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล และมีประสิทธิภาพกว่าการทำ Deduplication

  • Data Integrity Streams

ในขณะที่ประสิทธิภาพดีขึ้น ใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลน้อยลง แต่มันจะไม่มีค่าอะไรเลยหากข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้นการทำ Data Integrity จึงถูกรวมเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้ โดย Default จะถูกเปิดใช้งาน ซึ่งจะตรวจสอบความถูกต้องพร้อมทั้งแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิด Data Corruption มันจึงเป็น Feature ที่สำคัญในการเก็บข้อมูลแบบระยะยาว และเป็นการป้องกันความเสียหายในระดับ Storage Level เนื่องจากมีการตรวจสอบความถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เฉพาะจุด Restore Point ครั้งสุดท้าย

การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะใช้ฟังก์ชั่น  Proactive Error-Correction ทำการแก้ไขไฟล์อัตโนมัติ หรือแก้ไข Block ที่เสียหาย โดยใช้สำเนาที่ถูกต้องหรือใช้ Parity ( เป็นการตรวจสอบระดับบิต หรือ Parity Bit )

อ่านเพิ่มเติม : https://bit.ly/2tI4bbq


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *